วันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

หน้าแรก    อุปกรณ์      ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม      จากเส้นใยสู่ผืนผ้า          เกี่ยวกับเรา



อุปกรณ์ทอผ้าไหม   
ขั้นตอนในการเตรียมเส้นไหมใช้สำหรับทอ การเลี้ยงไหม ไหมที่จะนำมาทอเป็นผืนผ้าไหมนั้น ส่วนใหญ่จะได้มาจากการเลี้ยงไหมของชาวบ้าน โดยเรียกกันทั่ว ๆ ไปว่า "การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม" ตัวไหมที่ชาวบ้านนำมาเลี้ยงนั้น มีลักษณะคล้าย ๆ กับตัวหนอนกินใบหม่อนเป็นอาหาร ใบหม่อนนั้นจะได้มาจากการปลูกหม่อนของชาวบ้านตามไร่นาหรือตามสวน เมื่อตัวไหมหรือตัวหนอนแก่เต็มที่ จะสร้างฟักไหมขึ้นมาห่อหุ้มตัวเอง มีสีเหลือง (ไหมเหลือง) หรือสีขาว (ไหมขาว) ชาวบ้านจะเรียกกันว่า ฝักหลอก (ฝักไหม) เป็นไยไหมที่ตัวไหมหนึ่งตัวจะสร้างฝักไหมได้หนึ่งฝัก
  การสาวหลอก คือกรรมวิถีสาว (ดึง) เอาไยไหมออกมาจากฝักหลอก (ฝักไหม) มาเป็นเส้นไหม โดยนำเอาฝักหลอก (ฝักไหม) ต้มใส่หม้อดินขนาดใหญ่ มีเครื่องมือคีบดึงเส้นไหมออกมาเป็นเส้นยาวติดต่อกันเป็นเส้นเดียวกันตลอดจนหมดทุกฝัก เมื่อดึงเอาเส้นไหมออกมาจนหมดทุกฝักแล้วจะเหลือแต่ตัวไหม (ตัวหนอน) ที่ชาวบ้านเรียกกันว่า "ดักแด้" เป็นอาหารที่ให้โปรตีนและอร่อยมาก เป็นของโปรดของชาวอีสาน ไหมที่ได้จากการสาวหลอกนี้เป็นไหมเส้นแข็ง เรียกกันว่า ไหมดิบ

อุปกรณ์ทอผ้าไหม
     เครื่องมือที่สำคัญใช้ในการทอผ้า เรียกว่า กี่ทอผ้าหรือหูก เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการทอผ้าที่พบโดยทั่วไป มี 2 ชนิด คือ กี่ตั้งและกี่กระตุก ซึ่งประกอบด้วย กระสวย หลอดด้าย ไม้เหยียบหูก ไม้หาบหูก ไนสำหรับปั่นหลอด กงสำหรับใส่ไจด้าย ฟืม ผังสำหรับดึงผ้า ส่วนหลักในการทอผ้าไหม คือใช้หลักของการขัดกันของเส้นไหม ที่เรียกว่า เส้นยืนและเส้นพุ่ง
1. กี่ทอผ้าไหม 
      
เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญยิ่งอีกอันหนึ่ง ลักษณะของกี่ จะมีโครงสร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยม ประกอบด้วยเสาหลัก 4 เสา มีไม้ยึดติดกัน เป็นแบบดั้งเดิมที่ใช้มาในอดีตและปัจจุบันยังนิยมใช้อยู่ เพราะกี่ชนิดนี้ใช้ทอผ้าที่มีลวดลายต่างๆ ได้ดีกว่าชนิดอื่นๆ กี่กระตุกเป็นกี่แบบใหม่ที่ได้วิวัฒนาการให้มีคุณภาพในการทอรวดเร็วยิ่งขึ้น
2. กระสวย 
     
ทำจากไม้เนื้อแข็ง ยาวประมาณ 1 ฟุต หัวหน้าท้ายเรียวงอน ตรงกลางเป็นรางสำหรับใส่หลอดด้ายทางต่ำ ( เส้นพุ่ง) เป็นเครื่องมือที่บรรจุหลอดไหมเส้นพุ่ง เพื่อนำเส้นไหมไปขัดกับ เส้นไหมยืน เดิมมักจะทำด้วยไม้แต่ปัจจุบันมีทั้งทำด้วยไม้และพลาสติกคือ ท่อพีวีซี

3. หลอดด้าย(ไหม ) 
     
นิยมทำจากเถาวัลย์ชนิดหนึ่ง เรียกว่า เครือไส้ตัน เครือไส้ตันนี้จะมีรูกลวงตลอด ตัดเป็นท่อนๆ ท่อนละประมาณ 3 นิ้ว อาจจะใช้ไม้อย่างอื่นก็ได้ที่มีรูตรงกลาง เช่น ลำปอแก้ว เพื่อใช้ไม้สอดยึดติดกับกระสวย ไม้นี้เรียกว่าไม้ขอหลอดพลาสติก

4. ไม้เหยียบหูก 
     เป็นไม้กลมๆ ยาวประมาณ 1.50 - 2.00 เมตร สำหรับสอดกับเชือกที่ผูกโยง จากด้านล่างของเขาลงมาทำเป็นห่วงไว้เมื่อจะให้เขาขึ้น - ลง ในกรณีเปลี่ยนสีของเส้นไหมก็เหยียบไม้นี้ ไม้เหยียบหูก จะมีจำนวนเท่ากับจำนวนของฟืมนั้นๆ
5. ไม้หาบหูก 
     
เป็นไม้ที่สอดร้อยกับเชือกที่ผูกเขาด้านบน เพื่อให้หูกยึดติดกับกี่ไม้หาบหูกจะมีอันเดียว ไม่ว่าจะใช้ฟืมที่มี 2 เขา , 3 เขา หรือ 4 เขา

6. ฟืม 
     
เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับทอผ้า มีตัวฟืมที่ทำจากไม้ เนื้อแข็ง เป็นกรอบสี่เหลี่ยม มีฟันซี่เล็ก ๆ เรียงกันเป็นตับอยู่กลางและระยะห่างของฟันเป็นที่ใช้สำหรับสอดเส้นไหมผ่าน ความกว้างของฟืม ประมาณ 5 - 6 เซนติเมตร ส่วนความยาวของฟืมคือความกว้างของผืนผ้า ในการใช้ฟืมเนื่องจากการทอครั้งต่อไปจะต้องเหลือเส้นไหมที่ทอครั้งก่อนไว้เพื่อนำมาผูกกับเส้นไหมที่ต้องการทอครั้งต่อไปโดยไม่ให้เส้นไหมจากการทอครั้งก่อนหลุดออกจากฟืม ไม่เช่นนั้นจะต้องนำเส้นไหมมาสอดผ่านฟันของใหม่ ซึ่งจะต้องใช้เวลานานมาก




7. ฮงหมี่
     เอาใว้ การมัดหมี่ เป็นกรรมวิธีที่สำคัญที่สุดที่จะทำผ้าไหมให้เป็นลายและสีสรรต่าง ๆ ในการมัดหมี่ให้เป็นลายและสีต่าง ๆ นั้น ขึ้นอยู่กับกรรมวิธีและความนิยมของผู้ใช้เป็นสำคัญ เพราะลายและสีของผ้าไหมมีมากมายเหลือเกิน เช่น ถ้าต้องการผ้าไหมมีลายเล็ก ๆ เต็มผืนและหลาย ๆ สี ต้องใช้ผู้ที่มีฝีมือปราณีตในการมัดหมี่ ขณะเดียวกันค่าแรงงานในการจ้างมัดหมี่ก็แพงขึ้นด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการมัดหมี่ คือ มีดบางเล็ก ๆ หรือใบมีดโกนชนิดมีด้าม เชือก ฟาง (สมัยก่อนใช้กาบกล้วยแห้ง) "ฮงหมี่" และ "แบบลายหมี่" การมัดลายเต็มตัว (เต็มผืน) ผู้มัดจะต้องมัดลายตามแบบลายหมี่ให้เต็มปอยหมี่ (ผู้ที่ชำนาญในการมัดหมี่จะไม่ดูแบบลายหมี่) ส่วนการมัดลายครึ่งท่อน (ครึ่งผืน) ผู้มัดหมี่จะมัดเพียงครึ่งเดียวของปอยหมี่เท่านั้น ขั้นตอนการหมัดหมี่จะเริ่มจาก เอาปอยหมี่ที่ค่นเสร็จแล้วใส่ "ฮงหมี่" ใช้เชือกฟางที่ซอยเล็ก ๆ มัดลำหมี่แต่ละลำไปตามแบบลายหมี่ ส่วนของไหมที่ถูกเชือกฟางมัดนี้เวลานำไปย้อมสี สีอื่นจะไม่สามารถเข้าไปในส่วนนั้น ๆ ได้ จะคงสีไว้ตามเดิม และส่วนที่ไม่ถูกมัดจะมีสีตามที่ย้อม ถ้ามัดหมี่และย้อมสีสลับกันหลายครั้งจะทำให้ผ้าไหมมีหลาย ๆ สี